Photobucket

วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

ดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสอบได้ที่นี่!!



ดาวน์โหลดไฟล์ที่นี่






วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

ผลการสอบเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

ผลการสอบเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ประจำปี 2552

อันดับ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 95.3% (ผ่าน 142 ตก 7)
อันดับ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 88.9% (ผ่าน 144 ตก 18)
อันดับ 3 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 82.8% (ผ่าน 111 ตก 23)
อันดับ 4 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 80.4% (ผ่าน 41 ตก 10)
อันดับ 5 มหาวิทยาลัยมหิดล 79.8% (ผ่าน 83 ตก 21)
อันดับ 6 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 76.3% (ผ่าน 100 ตก 31)
อันดับ 7 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 74% (ผ่าน 74 ตก 26)
อันดับ 8 มหาวิทยาลัยนเรศวร 67.4% (ผ่าน 95 ตก 46)
อันดับ 9 มหาวิทยาลัยศิลปากร 65.4% (ผ่าน 89 ตก 47)
อันดับ 10 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 50 % (ผ่าน 25 ตก 25)
อันดับ 11 มหาวิทยาลัยรังสิต 38.1% (ผ่าน 67 ตก 109)
อันดับ 12มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 27.9 % (ผ่าน 50 ตก 129)


มีนักศึกษาเภสัชศาสตร์จาก 12 มหาวิทยาลัยเข้าสอบรวมทั้งสิ้น 1,473 คน โดยสอบผ่าน 1,036 คน คิดเป็น ร้อยละ 70.3

----------------------------------------------------------

ผลการสอบเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ประจำปี 2551

อันดับ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 92.3% (ผ่าน 143 ตก 12)
อันดับ 2 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 89.7% (ผ่าน 130 ตก 15)
อันดับ 3 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 88.6% (ผ่าน 70 ตก 9)
อันดับ 4 มหาวิทยาลัยนเรศวร 87.8% (ผ่าน 72 ตก 10)
อันดับ 5 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 84.8% (ผ่าน 39 ตก 7)
อันดับ 6 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 84.6% (ผ่าน 121 ตก 22)
อันดับ 7 มหาวิทยาลัยมหิดล 75.3% (ผ่าน 64 ตก 21)
อันดับ 8 มหาวิทยาลัยศิลปากร 73.9% (ผ่าน 119 ตก 42)
อันดับ 9 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 71.3% (ผ่าน 82 ตก 33)
อันดับ 10 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 45.1% (ผ่าน 37 ตก 45)
อันดับ 11 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 44.1% (ผ่าน 49 ตก 62)
อันดับ 12 มหาวิทยาลัยรังสิต 15% (ผ่าน 25 ตก 142)

----------------------------------------------------------

ผลการสอบเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ประจำปี 2550

อันดับ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 90.09% (ผ่าน 91 ตก 10)
อันดับ 2 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 87.22% (ผ่าน 116 ตก 17)
อันดับ 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 83.33% (ผ่าน 100 ตก 20)
อันดับ 4 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 80% (ผ่าน 40 ตก 10)
อันดับ 5 มหาวิทยาลัยนเรศวร 76.32% (ผ่าน 58 ตก 18)
อันดับ 6 มหาวิทยาลัยมหิดล 71.25% (ผ่าน 57 ตก 23)
อันดับ 7 มหาวิทยาลัยศิลปากร 60.9% (ผ่าน 98 ตก 63)
อันดับ 8 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 55.3% (ผ่าน 83 ตก 67)
อันดับ 9 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 44.21% (ผ่าน 42 ตก 53)
อันดับ 10 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 30.30% (ผ่าน 10 ตก 23)
อันดับ 11 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 27.21% (ผ่าน 40 ตก 107)
อันดับ 12 มหาวิทยาลัยรังสิต 16.67 % (ผ่าน 25 ตก 125)

----------------------------------------------------------

ผลการสอบเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ประจำปี 2549

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 92.26
ม.เชียงใหม่ 89.66
ม.นเรศวร 87.80
ม.มหาสารคาม 84.78
ม.สงขลานครินทร์ 83.22

ม.มหิดล 75.29
ม.ศิลปากร (รวม) 73.91
ม.อุบลราชธานี 71.30

ม.ขอนแก่น (รวม) 49.65
ม.ศรีนครินทรวิโรฒ 45.12
ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 44.14
ม.รังสิต 14.29


----------------------------------------------------------

ผลการสอบเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ประจำปี 2548

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จุฬา ) สอบผ่าน 97.75 %
2. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) สอบผ่าน 92.86 %
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.)สอบผ่าน 90.85 %
4. มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) สอบผ่าน 86.32 %
5. มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.)สอบผ่าน 82.76 %
6. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (มอบ.) สอบผ่าน 81.36 %
7. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) สอบได้ 75.61 %
8. มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก. )สอบได้ 74.65 %
9. มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข. )สอบได้ 66.92 %
10. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก. )สอบได้ 28.57 %
11. มหาวิทยาลัยรังสิต (มรส.) สอบได้ 18.93 %


----------------------------------------------------------

ผลการสอบเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ประจำปี 2547

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) สอบได้ 100%
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (มอบ.) สอบได้ 97%
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) สอบได้ 89%
มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) สอบได้ 81%
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จฬ.) สอบได้ 80%
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) สอบได้ 80%
มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) สอบได้ 77%
มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.) สอบได้ 51%
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวฯ (มฉก.) สอบได้ 29%

Ref; http://www.pharmacafe.com/

บทบาทของสภาเภสัชกรรม กับการประกันคุณภาพเภสัชกร

เภสัชกรหญิง รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา ชุติมาวรพันธ์
ผู้อำนวยการศูนย์สอบความรู้ฯ

บทบาทหน้าที่ด้านหนึ่งของสภาเภสัชกรรม คือการรับผิดชอบในการให้หลักประกันแก่สังคมว่า เภสัชกรที่ประกอบวิชาชีพในสังคมเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญที่เหมาะสมตั้งแต่เริ่มเข้ามาประกอบวิชาชีพ และตลอดเวลาที่ยังประกอบวิชาชีพอยู่ และมีการพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้ทันกับสถานการณ์และความก้าวหน้าในวิทยาการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในระดับดีที่สุด เพื่อคุ้มครองประชาชนให้ได้รับประโยชน์จากวิชาชีพเภสัชกรรมอย่างเต็มที่ ดังนั้นการกำหนดให้มีการสอบความรู้ผู้สำเร็จการศึกษาเภสัชศาสตร์ทุกคนก่อนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม และการกำหนดให้เภสัชกรผู้ประกอบวิชาชีพทุกคนต้องมีการศึกษาต่อเนื่องผ่านระบบการศึกษาต่อเนื่องของสภาเภสัชกรรมจึงเป็นกลไกหลักที่จะสร้างความมั่นใจต่อคุณภาพของการประกอบวิชาชีพของเภสัชกรแก่สังคมได้

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ที่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาทั้งจากมหาวิทยาลัยในสังกัดของรัฐและเอกชน ต้องสอบความรู้โดยการประเมินในด้านทักษะและความสามารถในการบูรณการองค์ความรู้ที่ได้ศึกษามาสู่การปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพเบื้องต้นเป็นหลัก ผลการสอบผ่านได้จากการสอบครั้งแรกของผู้สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษานั้น ได้สะท้อนให้เห็นคุณภาพบัณฑิตที่ผลิตจากสถาบันการศึกษาต่างๆว่ามีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน (ดังรูป) ปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อคุณภาพของผลผลิตของการศึกษาเภสัชศาสตร์ ได้แก่ กระบวนการผลิตบัณฑิต ซึ่งได้แก่ หลักสูตรการศึกษาและการจัดกระบวนการเรียนการสอน ปัจจุบันมีหลักสูตรการศึกษาเภสัชศาสตร์มากมายและแตกต่างกัน ตั้งแต่จำนวนปีที่ศึกษา โครงสร้างหลักสูตร และการจัดให้มีความเฉพาะทางในหลักสูตร เป็นต้น การจัดการเรียนการสอนในหลายสถาบันมีสัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษาไม่เพียงพอที่จะสอนนักศึกษาอย่างมีคุณภาพ เนื่องจากขาดความพร้อม เช่น เป็นมหาวิทยาลัยใหม่ ทำให้มีอาจารย์จำนวนไม่เพียงพอ และที่เห็นเป็นปัญหาใหม่ในปัจจุบันคือ สถาบันหลายแห่งเร่งสร้างหลักสูตรใหม่เพิ่มขึ้นให้มีความหลากหลาย ทำให้มีจำนวนหลักสูตรที่ต้องรับผิดชอบเพิ่มขึ้นโดยมีอาจารย์จำนวนเท่าเดิม นอกจากนี้กระบวนการสร้างทักษะทางวิชาชีพจากการฝึกปฏิบัติงาน ก็ยังมีการจัดการและการควบคุมคุณภาพที่ยังเป็นปัญหาต่อคุณภาพบัณฑิต

ในปัจจุบันบทบาทของสภาเภสัชกรรมในด้านการรับรองปริญญาของผู้สำเร็จการศึกษาเภสัชศาสตร์ที่จะสมัครเป็นสมาชิกสภาเภสัชกรรมและเพื่อขอสอบความรู้ ฯ ยังจำกัดการพิจารณาเฉพาะกรอบโครงสร้างหลักสูตรและกรอบการฝึกปฏิบัติงาน ซึ่งจากผลการสอบความรู้ฯที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า อาจไม่เป็นการเพียงพอในการประกันคุณภาพการศึกษา ปัจจัยในด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่สภาเภสัชกรรมอาจจะต้องนำมาพิจารณาในการรับรองปริญญา เพื่อเป็นบรรทัดฐานสำหรับสถาบันการศึกษาในการสร้างหรือปรับปรุงหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนให้เป็นมาตรฐานตามที่กำหนด ต่อไป

Ref; http://www.pharmacycouncil.org/html/htmlexpand/articlePQ.html

ทักทาย แนะนำ ติชม แสดงความคิดเห็น